ทิพยประกันชีวิต ประกาศถึงการมอบ เงินช่วยเหลือ ด้านค่าครองชีพชั่วคราวแก่พนักงานที่อยู่ในระดับปฏิบัติการ จำนวน 2,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 เดือนด้วยกัน (25 ส.ค. 2565) บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) (TIPLIFE) ประกาศถึงการดำเนินการมอบเงิน เงินช่วยเหลือ ด้านค่าครองชีพชั่วคราว ให้แก่พนักงานที่ที่มีตำแหน่งในระดับปฏิบัติการ เป็นจำนวน 2,000 บาท/เดือน โดยมีกรอบเวลาทั้งหมด 5 เดือน ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม 2565
โดยประกาศดังกล่าวนั้น ก็มีเนื้อความดังต่อไปนี้
ด้วยความห่วงใยในพนักงานของทิพยประกันชีวิต ต่อสถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบัน ที่ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตที่ปรับสูงขึ้นของพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทจึงช่วยเหลือค่าครองชีพชั่วคราว ให้กับพนักงานระดับปฎิบัติการ ในอัตราเดือนละ 2,000 บาท เป็นระยะเวลา 5 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมติดต่อกันไปจนถึงเดือนธันวาคม 2565
ทิพยประกันชีวิตให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อพนักงาน ซึ่งเป็นทรัพยากรหลักในการขับเคลื่อนองค์กร เมื่อพนักงานมีความสุข มีความเป็นอยู่ที่ดี ย่อมมีพลังในการดูแลรับใช้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังความมั่นคงและยั่งยืนต่อธุรกิจประกันอย่างแท้จริง
กยศ. เผยผลการให้กู้ยืมปีการศึกษา 2565 มีผู้ยื่นกู้แล้ว 590,796 ราย ยืนยันหากขาดแคลนกู้ได้ทุกคน
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เผยผลการให้กู้ยืมปีการศึกษา 2565 มีผู้ยื่นกู้แล้ว 590,796 ราย รวมวงเงินให้กู้กว่า 27,881 ล้านบาท โดยไม่ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน แต่ใช้เงินที่รุ่นพี่ส่งมอบโอกาสแก่รุ่นน้อง
นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า “จากการที่กองทุนได้เปิดระบบการกู้ยืมในปีการศึกษา 2565 กองทุนได้เตรียมเงินงบประมาณให้กู้ยืมจำนวน 38,000 ล้านบาท เพื่อรองรับนักเรียน นักศึกษาจำนวนกว่า 600,000 ราย ผลปรากฏว่าจนถึงปัจจุบันมีนักเรียน นักศึกษาได้ยื่นความประสงค์ขอกู้ยืมเงิน จำนวน 590,796 ราย เป็นเงินที่ขอกู้ยืมแล้วกว่า 27,881 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2565) โดยนักเรียน นักศึกษาสามารถยื่นกู้ยืมและทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือด้วยแอปพลิเคชัน “กยศ. Connect” และสามารถทำสัญญาเงินกู้ยืมได้โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันอีกด้วย
จากกรณีที่มีข่าวว่า นักเศรษฐศาสตร์การศึกษาได้เปรียบเทียบสัดส่วนการให้เงินอุดหนุนด้านการศึกษา ผ่านโครงการเงินกู้ในเอเชีย โดยพบว่า กยศ. ของประเทศไทย ให้เงินอุดหนุนด้านการศึกษาแฝง หรือเงินอุดหนุนทางอ้อมมากกว่าหลายประเทศในเอเชีย กองทุนขอชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นการวิเคราะห์เมื่อหลายปีก่อน ทั้งนี้ การอุดหนุนงบประมาณเป็นไปตามความต้องการและความจำเป็นของผู้ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในแต่ละปี ซึ่งรัฐบาลได้จัดสรรเงินแก่กองทุนตั้งแต่ปี 2539 – 2560 โดยมีวัตถุประสงค์ช่วยให้นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้รับโอกาสทางการศึกษา โดยกองทุนได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน
เนื่องจากความผันผวนทางเศรษฐกิจและอัตราการชำระเงินคืนยังไม่เพียงพอ จนในปี 2560 เป็นปีสุดท้ายที่กองทุน ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน เพราะมีเงินหมุนเวียนเพียงพอในการให้กู้ยืมจากรุ่นพี่ส่งต่อให้รุ่นน้อง กองทุนขอยืนยันว่า กองทุนจะเป็นหลักประกันให้ทุกครอบครัวว่าน้องๆ ที่ขาดแคลนสามารถกู้เงินได้ทุกคนโดยไม่มีข้อจำกัด เพื่อให้โอกาสทุกคนอย่างเท่าเทียมในการเข้าถึงการศึกษา” ผู้จัดการกองทุนฯ กล่าวในที่สุด
เช็กเงื่อนไข ‘เงินผู้สูงอายุ 2565’ คืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง
เปิดรายละเอียด เงื่อนไขเงินผู้สูงอายุ 2565 หลังครม. อนุมัติคืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุใครมีสิทธิบ้าง และผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพซ้ำซ้อนจะต้องคืนเงินราชการหรือไม่
สรุปข้อกำหนด เงินผู้สูงอายุ 2565 มีเงื่อนไขรับสิทธิ คืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี และมีรายได้ไม่เพียงพอในการดำรงชีพ นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ส่วนผู้สูงอายุท่านใดที่รับเบี้ยยังชีพทับซ้อนกับสวัสดิการอื่นของรัฐ แล้วได้นำเงินมาคืนให้ทางราชการเป็นที่เรียบร้อย ให้ดำเนินการภายในระยะเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ครม.มีมติ เมื่อวันอังคารที่ 23 สิงหาคม 2565 เช็กเงื่อนไขเงินผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพได้ที่นี่
คืนเบี้ยยังชีพ เงินผู้สูงอายุ 2565 มีเงื่อนไขอะไรบ้าง
สรุปมาให้แล้วสำหรับเงื่อนไขเงินผู้สูงอายุ 2565 หรือคนชราใครมีสิทธิได้รับเงินคืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุบ้าง หากมีร่วมโครงการเบี้ยยังชีพอื่น ๆ จากหน่วยงานรัฐยังสามารถรับสิทธิคืนเบี้ยยังชีพผู้ชราได้อยู่ไหม มีรายละเอียดเงื่อนไขดังนี้
1. ผู้สูงอายุต้องไม่เป็นผู้รับสวัสดิการจากหน่วยงานรัฐซ้ำซ้อน สำหรับเงื่อนผู้สูงอายุข้อแรกคือ ผู้สูงอายุที่จะได้รับเบี้ยยังชีพต้องไม่เป็นผู้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานของรัฐเป็นเงื่อนไขที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546
2. เงื่อนไขเงินผู้สูงอายุ ที่ผิดข้อกำหนดจะต้องนำเงินมาคืน ในกรณีที่การจ่ายเงินเบี้ยงยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว ในกรณีที่ผู้สูงอายุนำเงินมาคืนให้กับหน่วยงานราชการ หน่วยงานที่รับเงินไว้มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินคืนให้ผู้สูงอายุ
3. การรับเงินคืนเบี้ยยังชีพคนชรา ต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป การรับสิทธิเงินผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุหรือผู้ชรา อ้างอิงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ระบุในมาตรา 48 วรรค 2 จะต้องเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปี และเป็นผู้ที่มีรายได้น้อยไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง